ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน ดารุสซาลาม
เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา
ซึ่งการที่ประเทศสมาชิกจะช่วยกันขับเคลื่อนอาเซียนเข้าไปแข่งขันกับเวทีเศรษฐกิจระดับโลกได้นั้น
ประชากรในแต่ละประเทศก็ถือเป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
จากผลการสำรวจจำนวนประชากรกลางปี 2544
ที่สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้เผยแพร่ไว้ พบว่า
ประชากรโลกมีจำนวนกว่า 6,987 ล้านคน
ขณะที่ในระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอาเซียน มีประชากรประมาณ 601 คน ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ห่างกันหลายเท่าตัว
และเมื่อดูจำนวนประชากรเป็นรายประเทศ แล้วพบว่าในประเทศสมาชิก
มีจำนวนประชากรที่แตกต่างกันไป ดังนี้
รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei
Darussalam) มีประชากร ประมาณ 4 แสนคน
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of
Cambodia) มีประชากร ประมาณ 15 ล้านคน
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of
Indonesia) มีประชากร ประมาณ 238 ล้านคน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People's
Democratic Republic) มีประชากร ประมาณ 6.3 ล้านคน
มาเลเซีย (Malaysia) มีประชากร
ประมาณ 28.9 ล้านคน
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (The Republic of
the Union of Myanmar) มีประชากร ประมาณ 54 ล้านคน
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the
Philippines) มีประชากร ประมาณ 95.7 ล้านคน
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of
Singapore) มีประชากร ประมาณ 5.2 ล้านคน
ราชอาณาจักรไทย (Thailand) มีประชากร
ประมาณ 69.5 ล้านคน
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist
Republic of Vietnam) 87.9 ล้านคน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในแง่ของจำนวนประชากรอาเซียน
ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย ซึ่งมีประชากรถึง 238 ล้านคน ขณะที่ บรูไน ดารุสซาลาม มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด เพียง 4 แสนคน ทั้งนี้ แม้จะมีความ
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/77001
ที่มา http://hilight.kapook.com/view/77001
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น